เนื้อหา บทที่ 4
การเขียนบทบรรณาธิการ
ความหมายของบทบรรณาธิการ
บทบรรณาธิการ หรือ “บทนา” คือ ข้อเขียนที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นช่องทางหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้สื่อสารความคิดกับบรรณาธิการ หรือหนังสือพิมพ์ เพื่อทราบความคิดเห็นของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับเกี่ยวกับข่าวเหตุการณ์ปัจจุบัน
บท บก. เป็นทัศนะของหนังสือพิมพ์จึงไม่จาเป็นต้องลงชื่อผู้เขียน เพราะถือว่าต้องมีความคิดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อาจเขียนโดยบก. เองหรืออาจมอบหมายให้บุคคลอื่นในกองบก.เป็นผู้เขียน
บทบก.จะมีลักษณะแสดงถึงจุดยืนและนโยบายของหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่แสดงความคิดเห็นออกไป
หน้าที่ของบทบรรณาธิการ
1. เป็นแหล่งแสดงความคิดเห็น สะท้อนนโยบายและจุดยืนของหนังสือที่มีต่อปัญหาใดปัญหาหนึ่งที่มีผลกระทบกับประโยชน์ส่วนรวม
2. เป็นสื่อในการแสดงออกโดยมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสังคม
3. ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจข่าวและสาระมากขึ้น โดยอธิบายภูมิหลังของเหตุการณ์เป็นการยกระดับความรู้ความคิดของผู้อ่านด้วย
4. เป็นผู้นาความคิด เป็นสื่อกลางของสังคม
5. ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่ดีให้กับผู้อ่าน
6. ปลูกฝังสาธารมติที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดความสานึกทางสังคมให้แก่ประชาชน
วัตถุประสงค์ของบทบรรณาธิการ
1. การแจ้งข่าวสาร เป็นการอธิบายเหตุการณ์ภูมิหลังของข่าว ทาให้ผู้อ่านมองเห็นประเด็นปัญหาและสามารถเกิดการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
2. การให้ความคิดเห็น เป็นการเสนอความเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ พร้อมทั้งชี้ทางหรือกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดการกระทาอย่างหนึ่งอย่างใด
3. การโน้มน้าวให้เกิดการกระทา เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารและข้อคิดเห็นเพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดการกระทาอย่างใดอย่างหนึ่ง
4. การให้ความเพลิดเพลิน ปกติบทบรรณาธิการจะมุ่งให้สาระหนักแน่น แต่บางโอกาสสามารถสร้างบรรยากาศผ่อนคลายได้
ประเภทของบทบรรณาธิการ
แบ่งตามจุดมุ่งหมาย
1. ประเภทเสนอข่าว เป็นการย้าข่าวหรือเหตุการณ์ที่น่าสนใจในช่วงเวลานั้น โดยไม่ได้พยายามอธิบายความมากนัก
2. ประเภทให้ข่าวสารและคาอธิบายขยายความ เป็นการหยิบยกข่าวที่มีแง่มุมที่เข้าใจยากมาให้รายละเอียดเพิ่มเติม อธิบายขยายความเป็นไปตามลาดับและชี้ประเด็นสาคัญ โดยไม่มีเป้าหมายให้ผู้อ่านเกิดปฏิกิริยาใดๆ
3. ประเภทแสดงความคิดเห็น หัวใจของบทบรรณาธิการ คือ การแสดงความคิดเห็นต่อข่าวหรือเหตุการณ์ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติ ซึ่งมีทั้งในเชิงสนับสนุนและเชิงโต้แย้ง
4. ประเภททัศนะและเสนอแนะ เป็นบทบก.ที่ผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ โดนต้องชี้ให้เห็นถึงความเป็นมาและการดาเนินการ ผู้เขียนต้องเสนอความคิดเห็นและแนวทางแก้ปัญหาให้กับผู้เกี่ยวข้องและผู้อ่านได้พิจารณา โดยผู้เขียนต้องมีข้อมูลพร้อม
5. ประเภทโน้มน้าวและเรียกร้องให้เกิดการกระทา เป็นการจูงใจให้ผู้อ่านเห็นสอดคล้องกับหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
6. ประเภทชี้แจงหรือแถลงนโยบาย เป็นการสะท้องให้เห็นนโยบายหรือจุดยืนของหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารแต่ละฉบับ และเป็นที่ซึ่งหนังสือพิมพ์ใช้เพื่อป้องกันนโยบายของตนออกจากปัญหาที่เกิดขึ้น
โครงสร้างของบทบรรณาธิการ
1. ชื่อเรื่อง (Title)
2. คานา (Introduction)
3. เนื้อเรื่อง (Content)
4. สรุป(Conclusion)
จากโครงสร้างทั้ง 4 ส่วน จะใช้วิธีการย่อหน้าเพื่อช่วยให้เห็นประเด็นต่างๆได้ชัดเจน
องค์ประกอบในบทบรรณาธิการ
1. ความนา อารัมภบท มักเป็นสรุปเหตุการณ์
2. อธิบายภูมิหลังของเหตุการณ์
3. ชี้ประเด็นปัญหาและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
4. ความคิดเห็นของหนังสือพิมพ์และเหตุผลสนับสนุน
5. ผลกระทบของเหตุการณ์
6. เสนอความคิดเห็น ข้อชี้แนะ หรือจุดยืนของหนังสือพิมพ์
การเขียนบทบรรณาธิการสาหรับนิตยสาร
บทบรรณาธิการในนิตยสารมีความแตกต่างจากบทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ กล่าวคือ เนื้อหาบทบก.ในนิตยสารไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ๆ แต่จะเกี่ยวข้องกับความคิดเห็นในเรื่องทั่วไปแล้วแต่โอกาส เช่น การมอง
ถึงอนาคตของสังคม การสะท้อนนโยบายหรือจุดยืนของนิตยสาร การพิจารณาจากเนื้อหาอันเป็นความคิดรวบยอดของนิตยสารที่ออกในช่วงเวลาสั้นๆ การบอกกล่าวถึงเรื่องที่จะนาเสนอหรือกิจกรรม เป็นต้น
การเขียนเป็นลักษณะความเรียงสั้นๆ ใช้ภาษาที่ง่ายเป็นกันเองกับผู้อ่าน ชื่อของบทบรรณาธิการอาจใช้แตกต่างกันไป และยังบอกชื่อผู้เขียนบทบรรณาธิการด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น