วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


เนื้อหา บทที่ 3
การเขียนเรียงความ บทความ
 

เรียงความ (Composition) คือ การเขียนประเภทร้อยแก้ว โดยเป็นการแสดงความรู้สึก ความคิด ความเข้าใจ ความฝัน ความรู้หรือประสบการณ์ของผู้เขียนให้ผู้อื่นทราบ



เรียงความเรื่องหนึ่งๆมีลักษณะสาคัญ 3 ประการ คือ เอกภาพ (unity) สัมพันธภาพ (coherence) และ สารัตถภาพ(emphasis)

บทความ (Article) หมายถึง ข้อเขียนที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรู้ ความคิด ตลอดจนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น มักเป็นเรื่องที่คนกาลังสนใจ ทันเหตุการณ์ มีสาระ แทรกทัศนะที่ชวนคิด ชวนอ่าน โดยมีหลักฐานข้อเท็จจริงสามารถอ้างอิงเพื่อวิเคราะห์และวิจารณ์และผู้เขียนต้องแทรกความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์ไว้ด้วยวัตถุประสงค์ในการเขียนบทความ



1. เพื่ออธิบาย ชี้แจง หรือให้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง

2. เพื่อบรรยายให้ผู้อ่านเห็นภาพของเหตุการณ์ สถานที่ หรือ สภาพต่างๆ

3. เพื่อโน้มน้าวใจ จูงใจให้ผู้อ่านคล้อยตามความคิดของตน

4. เพื่ออภิปรายเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมขณะนั้น และชี้นาให้ผู้อ่านเห็นด้วยและปฏิบัติตามความคิดของผู้เขียน

ประเภทของบทความ

สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ประเภท

1. บทความเชิงสาระ (Formal Article) เป็นการเขียนที่เน้นหนักไปในทางวิชาการ มุ่งเน้นให้ความรู้ และกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดปัญญาหรือความอยากรู้อยากเห็น

2. บทความเชิงปกิณกะ (Informal Article) เป็นการเขียนสาระความรู้ที่ให้ความเพลิดเพลินด้วยกลวิธีในการนาเสนอและสานวนโวหาร

ในที่นี้จะแบ่งตามลักษณะเนื้อหาได้ 10 ประเภท ดังนี้

1. บทความแสดงความคิดเห็น – บทความชนิดนี้ผู้เขียนจะมุ่งแสดงความคิดเห็นเป็นสาคัญโดยประมวลแนวความคิดจากเอกสารอ้างอิงต่างๆผนวกกับความคิดเห็นของผู้เขียน เนื้อหามีหลายลักษณะ เช่นผู้เขียนหยิบปัญหา เหตุการณ์ ข่าวสารบ้านเมือง หรือเรื่องที่ประชาชนสนใจมาแสดงความคิดเห็น เป็นต้น

ข้อควรตระหนัก คือ ผู้เขียนควรแยกประเด็นปัญหาอย่างชัดเจน แล้วเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหา และควรสรุปตอกย้้าความคิดของตนอย่างชัดเจน


2. บทความเชิงสัมภาษณ์

3. บทความรายงาน

4. บทความบรรยาย

5. บทความอธิบาย

6. บทความเชิงโต้แย้งสังคม

7. บทความเชิงวิจารณ์

8. บทความเชิงวิเคราะห์

 

9. บทความเชิงแสดงบุคลิกภาพ

10. บทความวิชาการ - มีเนื้อหาแสดงข้อเท็จจริง ข้อความรู้ทางวิชาการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผู้เขียนอาจจะเสนอเฉพาะเนื้อหาสาระทางวิชาการ หรือเสนอทั้งเนื้อหาสาระข้อเท็จจริงและแสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ได้

โครงสร้างของการเขียนบทความ

1. ชื่อเรื่อง (Title)

2. ส่วนนาเรื่อง (Introduction) “หัว”

3. ส่วนเนื้อเรื่อง (Body) “ตัว”

4. บทส่งท้าย/สรุป (Conclusion) “ท้าย”



วิธีการเขียนตามรูปแบบของบทความ

1. การตั้งชื่อเรื่อง




ชื่อเรื่องเป็นส่วนแรกของบทความที่จะเรียกร้องความสนใจจากผู้อ่าน และยังบอกแนวทางและจากัดขอบเขตของเรื่องให้ผู้อ่านทราบอีกด้วย

ข้อแนะนาการตั้งชื่อเรื่อง

1) ต้องบ่งบอกสาระสาคัญของเรื่องได้อย่างชัดเจน

2) ต้องสัมพันธ์กับเรื่อง บอกขอบข่ายของเรื่องได้

3) ต้องดึงดูดความสนใจ ชวนสงสัย มีจุดเด่น ชวนให้อ่านเรื่องต่อไป

4) ต้องใช้ถ้อยคากะทัดรัด กระชับ ไม่ควรยาวเกินไป

2. การเขียนส่วนนาเรื่อง




ส่วนนา เป็นส่วนของการกล่าวเปิดเรื่องที่จะนาเข้าสู่เนื้อเรื่องต่อไป เพื่อแนะนาให้ผู้อ่านทราบก่อนว่ากาลังจะอ่านเรื่องเกี่ยวกับอะไร ผู้เขียนมีเจตนาอะไร หรือขอบเขตเรื่องมีอะไรบ้าง บางครั้งเป็นการปูพื้นฐานความรู้ความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่านต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นส่วนเร้าความสนใจให้ผู้อ่านอยากติดตามเรื่องต่อไป

วิธีเขียนส่วนนา

1) นาด้วยปัญหาเร่งด่วน หรือหัวข้อที่กาลังเป็นเรื่องที่น่าสนใจ

2) นาด้วยคาถาม

3) นาด้วยการเล่าเรื่องที่จะเขียน

4) นาด้วยการยกคาพูด ข้อความ สุภาษิตที่น่าสนใจ

5) นาด้วยบทร้อยกรอง

6) นาด้วยการอธิบายความเป็นมาของเรื่อง

7) นาด้วยการบอกจุดประสงค์ของการเขียน

3. การเขียนส่วนเนื้อเรื่อง

เนื้อเรื่อง คือ ประเด็นต่างๆที่ผู้เขียนนาเสนอเพื่อแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นความรู้ ความคิดเห็น รวมทั้งขอเท็จจริงที่เป็นเหตุผลสนับสนุนความคิดเห็นให้ผู้อ่านทราบตามโครงเรื่องที่วางไว้

ข้อแนะนาการเขียนเนื้อเรื่อง

1) เขียนรายละเอียดของเนื้อเรื่องให้ชัดเจน ให้มีปริมาณเนื้อหาเพียงพอที่ผู้อ่านจะเข้าเรื่องราวต่างๆได้ชัดเจน

2) จัดลาดับเรื่องเป็นขั้นตอนต่อเนื่องและเหมาะกับเนื้อหาบทความ

3) เสนอความคิดเห็นในประเด็นต่างๆอย่างชัดเจน เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร พร้อมเหตุผลสนับสนุนที่สมเหตุสมผล น่าเชื่อถือ

4) ยกข้อมูลประกอบเรื่องให้ชัดเจน เช่น ตัวอย่าง สถิติ ตาราง เป็นต้น เพื่ออธิบายเรื่อราวได้ดียิ่งขึ้น

5) กรณีที่เนื้อเรื่องนาเสนอเนื้อหาหลายประเด็นหรือเนื้อหายาว ควรขึ้นย่อหน้าใหม่

6) ใช้ถ้อยคาภาสุภาพ เลือกใช้ระดับภาษา โวหารให้เหมาะสมกับบทความแต่ละประเภท

4. การเขียนส่วนท้ายหรือส่วนสรุป

สรุป คือ การปิดเรื่อง เป็นข้อความตอนสุดท้ายของเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้เขียนและเป็นการแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนเพื่อให้ผู้อ่านนาไปคิดต่อ

1) สรุปแบบเน้นย้าประเด็นหลัก

2) เสนอคาถามหรือข้อคิดให้ผู้อ่านใช้วิจารณญาณ

3) สรุปเรื่องแบบสรุปจบ

4) เสนอความคิดเห็นของผู้เขียน

5) ขยายจุดประสงค์ของผู้เขียน ควบคู่กับบทร้อยกรอง

6) สรุปแบบให้สอดคล้องกับความนา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น